Google Tag Manager หรือ GTM คือ...
เครื่องมือที่ถูกออกแบบมาในลักษณะ Container ทั้งบนเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่น เพื่อช่วยในการเชื่อมต่อหรือเป็นตัวกลาง ในการส่งค่าหรือคำสั่งตามเงื่อนไข จากเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นต้นทางไปยังเครื่องมือหรือระบบที่รับค่าปลายทางได้ และยังสามารถจัดการ embed script เพิ่มเติมทั้งในรูปแบบ HTML และ Java สคริปต์ได้เป็นต้น

Google ได้นิยามเครื่องมือนี้ให้อยู่ในหมวด เครื่องมือการจัดการแท๊ก Tag Management Systems หรือ TMS และแน่นอน GTM ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังเครื่องมือต่างๆ ของ Google ได้อีกเช่น Google Analytics, Google Ads, Floodlights, Conversion Linker ที่สำคัญคือฟรี
ข้อดีของการใช้งาน Google Tag Manager ทำไมถึงต้องใช้
เพื่อความสะดวกสบายในการจัดการ Tag ต่างๆสำหรับ webadmin หรือ webdeveloper ไม่ต้องมานั่งเสียเวลาในการนั่งไล่เขียน TAG ใหม่ในทุกๆครั้ง
โดยการติดตั้ง GTM จะแบ่งโค้ดในการติดตั้งอยู่สองส่วนคือ ชุดที่ใช้ในการติดตั้งภายใน tag <head>และชุดที่ติดตั้งภายใน tag <body> ซึ่งโค้ดทั้งสองชุดนี้จะทำงานภายใต้คอนเซปต์ container กล่าวคือ หากติดตั้งโค้ดทั้งสองชุดเรียบร้อยแล้ว ท่านจะไม่ต้องเข้าไปหรือยุ่งวุนวายกับตัวโค้ดอีกเลย หรือ หากบางกรณีที่ต้องขอความช่วยเหลือจาก web dev เราแค่ต้องขอความช่วยเหลือเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นท่านสามารถล็อกอินเข้าระบบ GTM แล้วจัดการได้เลย
หลักการทำงานของ Google Tag Manager เบื้องต้น
หลักการทำงานเบื้องต้นของ Google Tag Manger ประกอบด้วยสองส่วนที่สำคัญอันได้แก่ TAG และ Trigger หาก TAG คือชุดคำสั่งวิธีทำงาน ส่วน Trigger ก็เปรียบเสมือนเงื่อนไขการทำงาน เช่น
หาก เราต้องการนับ visitor บนเว็บไซต์ เฉพาะ path /campaign-a เท่านั้น
TAG คือ คำสั่งสีแดง ที่ถูกกำกับด้วย เงื่อนไข Trigger สีน้ำเงิน
เมนูและการใช้งาน Google Tag Manager
การจัดการ TAG ต่างๆจะถูกแบ่งโดย Work Space ของการทำงาน หากเริ่มต้นครั้งแรกจะเริ่มจากภายใต้ Default Workspace โดยเราสามารถสร้าง Work Space อื่นๆขึ้นมาอีกได้ เช่น ในกรณีที่ต้องการ Work Space สำหรับทดสอบ สามารถสร้าง Testing Work Space ได้เป็นต้น
เมนูภายใต้ Work Space จะมีเมนูให้ท่านได้จัดการต่างอยู่ 6 เมนูอันได้แก่
1 Overview เพื่อดูภาพรวมต่างๆภายใน Work Space นั้น เช่น Tag ใหม่ หรือ TAG ที่กำลังแก้ไขอยู่รวมถึงข้อมูล Version ที่ใช้งานล่าสุดในหัวข้อ Live version
2 Tags เมนูที่จะแสดงภาพรวมของ Tags ทั้งหมดรวมถึงการสร้าง Tag ใหม่และการแก้ไข Tag ต่างๆจากเดิม
3 Trigger คือเมนูในการสร้างและกำหนดเงื่อนไขการทำงานให้แก่ Tag ต่างๆ
4 Variables การกำหนดค่าตัวแปรต่างๆเพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน เช่น หากจะต้องใช้งานร่วมกับ Google Analytics ในหลายๆ Tag แทนที่เราจะต้องใส่ GA ID ในทุกๆ TAG เราสามารถสร้างตัวแปล MyGA แล้วระบุค่า GA ID หลังจากนั้นในทุกๆ TAG ที่เราจะส่งค่าไปยัง GA ด้วยตัวแปร MyGA ได้เลย
5 Folders สร้างและจัดเก็บ TAG, Trigger ให้เป็นหมวดหมู่
6 Template บ่อยคร้้งที่เราสร้าง TAG ในรูปแบบหรือวิธีการคล้ายๆกัน เพื่อเป็นการประหยัดเวลาเราสามารถสร้างเป็น Template ไว้เพื่อการใช้งานครั้งต่อไป